วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2554

นีออน

neon7

ปลานีออนมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Paracheirodon innesi เป็นปลาขนาดเล็กที่มีนิสัยชอบอยู่รวมเป็นฝูงใหญ่ในระดับกลางน้ำในป่าดิบชื้นที่มีไม้น้ำหนาแน่นในภาคตะวันออกเฉียงใต้ของโคลัมเบีย, ภาคตะวันออกของเปรู, และทางภาคตะวันตกของบราซิล มีรูปทรงยาวรี คล้ายเม็ดข้าวสาร ตาโต มีครีบบางใสยาวพอประมาณทั้ง 7 ครีบ (ครีบว่าย 2 ครีบท้อง 2 ครีบกระโดง 1 ครีบทวาร 1 ครีบหาง 1) มีครีบไขมันขนาดเล็ก ที่โคนหาง ลำตัวมีเกล็ดขนาดเล็กมันวาวปกคลุมทั้งตัว โดยที่ส่วนหลังจะสีเหลือบเขียวมะกอก มีเส้นเรืองแสงสีเขียวอมฟ้าพาดตั้งแต่จมูกผ่านลูกตายาวไปสุดที่ครีบไขมัน อันเป็นที่มาของชื่อ ปลานีออน ส่วนท้องเป็นสีขาวเงิน หลังจากช่องท้องไปถึงโคนหางมีสีแดงสด ขนาดโตเต็มที่ไม่เกิน 1 นิ้ว

neon5

ลักษณะทั่วไปของปลานีออน ปลานีออน จัดเป็นปลาสวยงามขนาดเล็กเมื่อเทียบกับปลาสวยงามชนิดอื่น ๆ มีสีสันที่สร้างความประทับใจแก่ผู้ได้พบเห็น บนลำตัวมีสีน้ำเงินอมเทา ตรงแนวสันหลังสีเขียวอ่อน และมีสีฟ้าเชื่อมติดระหว่างโคนหาง ส่วนโคนครีบหาง และครีบอกมีสีแดงพาดอยู่ ลำตัวเจริญเติบโตเต็มที่วัดได้ 1.5  นิ้ว มีอุปนิสัยรักสงบ ชอบว่ายน้ำเล่นอยู่ตลอดเวลาไม่อยู่นิ่งกับที่ อาศัยอยู่บริเวณกลางน้ำ และผิวน้ำ ปลาชนิดนี้ชอบเกาะกลุ่มรวมกันเป็นฝูง ๆ กินอาหารได้ทุกชนิด จึงไม่มีปัญหาในเรื่องอาหาร

neon6

เทคนิคการเลี้ยงปลานีออน ด้วยความสวยงามจึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกชนิดหนึ่ง ที่มีทั้งการส่งออกจากอเมริกาใต้ และเพาะขยายพันธุ์ได้ในหลายประเทศ เช่น อินโดนีเซีย, สิงคโปร์ และไทย เป็นต้น อุณหภูมิที่เหมาะสมของปลานีออนคือไม่เกิน 30 องศาเซลเซียส ปลานีออนจะมีนิสัยรักสงบ สามารถเลี้ยงเป็นฝูงได้ ทั้งยังสามารถเลี้ยงร่วมกับปลาอื่น ๆ ที่มีขนาดไล่เลี่ยกันได้อีกด้วย แต่ปลานีออนจะมีนิสัยขี้ตื่น ชอบกระโดด ดังนั้นสำหรับการเลี้ยงในตู้จึงควรจะมีฝาปิดให้มิดชิดด้วยเพื่อกันการที่ปลานีออนจะกระโดดออกมาตายนอกตู้ หากเป็นไปได้ ควรมีสถานที่ซ่อนเวลาที่ปลานีออนตกใจ ด้วยการหาขอนไม้, หิน หรือพรรณไม้น้ำมาเป็นที่ซ่อน

          1. ตู้ปลาขนาด 14 นิ้วขึ้นไป  การเลี้ยงปลานีออนให้สวยนั้นจะต้องเลี้ยงรวมกับต้นไม้น้ำและมีโขดหินให้ปลาซ่อนตัวและวางไข่
          2. แสงไฟ ถ้าหากเราจะเลี้ยงเพื่อความสวยงามแล้วเราจะเล่นแสงเพื่อให้แสงตัดสีกับตัวปลา แต่ถ้าหากว่าเราจะเพาะนั้น แสงไฟที่แนะนำจะเป็นหลอดไฟกลมเล็ก 15 วัตต์ เนื่องจากไข่ของปลานั้นจะมีผลต่อแสงไฟค่อนข้างมาก เพราะจะทำให้ไข่ปลาเสียและฝ่อในที่สุด
          3. ระบบกรอง  จะใช้ระบบกรองข้าง ซึ่งจะช่วยให้การเลี้ยงง่ายขึ้น สิ่งที่สำคัญที่สุดของการเลี้ยงปลานีออนหรือปลาทุกชนิดก็คือระบบน้ำที่เป็นสภาพแวดล้อม ซึ้งจะเลี้ยงปลานีออนในช่วง pH 5.0-6.0 และอุณหภูมิที่ต้องการคือ 24 องศาเซลเซียส และควรเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกๆ 1 สัปดาห์
          4. Heater  มีความจำเป็นต่อปลามากในฤดูหนาว ซึ่งอุณหภูมิที่ปลานีออนต้องการคือ 23-30 องศาเซลเซียส  นอกจากนี้ Heater นี้ยังช่วยให้ปลาปลอดจากโรคจุดขาว  เนื่องจากในฤดูหนาวปลาจะไม่ค่อยเคลื่อนไหว จะทำให้ปลาอ่อนแอ และเชื้อโรคจะเจริญเติบโตได้ดีในช่วงนี้ ดังนั้นการใช้ Heater ก็จะช่วยให้ดีขึ้น
          5. ยาปรับสภาพน้ำ  จะปรับสภาพน้ำให้เหมือนน้ำที่มาจากแหล่งที่เลี้ยง อาจใช้น้ำหมักจากใบหูกวางก็ได้
          6. อาหาร  ใช้อาหารสดพวกอาทีเมีย หรือ ไรแดง

neon2

การคัดพ่อแม่พันธุ์ การคัดพ่อแม่พันธุ์สังเกตได้จาก ปลาตัวเมียมีขนาดลำตัวใหญ่ อ้วนกลมกว่าบริเวณส่วนท้องของปลาตัวเมียเต่งขยายออก การเคลื่อนไหวเชื่องช้า สีคมชัดกว่า สำหรับตัวผู้ลำตัวยาวเรียวกว่า และมักไล่ต้อนตัวเมียเมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์

การผสมพันธุ์ ตามธรรมชาติปลานีออนเป็นปลาที่เพาะพันธุ์ค่อนข้างยาก ฉะนั้นผู้เพาะเลี้ยงจึงต้องใช้เทคนิค และวิธีการบางอย่างเข้าช่วย เพื่อกระตุ้นการผสมพันธุ์ในการวางไข่ให้เร็วขึ้น การเพาะพันธุ์ปลานีออนจะประสบความสำเร็จได้ด้วยวิธีการและเทคนิคดังนี้

การเตรียมอุปกรณ์ในการเพาะพันธุ์ อุปกรณ์ทุกชนิดที่ใช้ในการเพาะพันธุ์ เช่น ตู้เพาะเลี้ยง ฝาปิดตู้ปลา และพันธุ์ไม้น้ำ ต้องผ่านการฆ่าเชื้อโรคให้สะอาดเสียก่อน ด้วยการแช่น้ำเกลือหรือด่างทับทิม โดยเฉพาะตู้เพาะพันธุ์ และฝาตู้ปลาควรแช่ได้นาน 1-2 วัน ต่อจากนั้นเช็ดให้แห้ง สำหรับพันธุ์ไม้น้ำก็เช่นกัน แต่ความเข้มข้นต้องเจือจางกว่า การฆ่าเชื้อเพื่อป้องกันความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นได้

neon3

ตู้เพาะพันธุ์ สำหรับที่ใช้ในการเพาะพันธุ์ปลานีออนควรมีขนาดที่พอเหมาะ คือ ขนาดของตู้ปลาควรเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ค่อนข้างแบนจุน้ำได้ 80 ลิตร ปริมาณน้ำที่เติมลงไปประมาณ 60 ลิตร ควรเป็นน้ำที่สะอาดปราศจากเชื้อโรค และปลูกพันธุ์ไม้น้ำไว้บริเวณด้านข้างของตู้ปลาด้านใดด้านหนึ่ง หรือ ใช้กิ่งไม้แทนหิน กรวด ทราย เนื่องจากกิ่งไม้เป็นที่วางไข่จนกระทั่งไข่ฟักเป็นตัวอ่อน บริเวณที่ตั้งตู้ปลาควรเป็นสภาพที่เงียบไม่มีคนพลุกพล่าน ทางที่ดีควรเลือกตั้งตรงบริเวณที่ได้รับแสงแดดยามเช้า อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้แก่พันธุ์ไม้น้ำ และไข่ หรือตัวอ่อนที่กำลังเติบโตต่อไป ก่อนการตั้งตู้ควรเลือกสถานที่ที่เหมาะสมที่สุดเนื่องจากเมื่อตั้งตู้ปลาแล้วเราไม่สามารถเคลื่อนย้ายตู้ปลาได้อีก

สภาพน้ำ การเพาะพันธุ์ปลานีออน น้ำเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะถ้าน้ำที่ไม่สะอาดมาทำการเพาะพันธุ์ทำให้เกิดผลเสียหาย บางท่านนำน้ำกลั่นมาเพาะเลี้ยงแล้วใช้แอร์ปั๊มเข้าช่วยเพื่อเพิ่มออกซิเจนเหตุผลนี้เป็นการเข้าใจผิด เพราะน้ำกลั่นโดยทั่วไปมีสภาพเป็นกรด ถ้าใช้น้ำประปาควรปล่อยทิ้งไว้สัก 2-3 วัน เพื่อให้คลอรีนระเหยออกไปแล้วนำมาใช้เพาะพันธุ์ ผู้เพาะเลี้ยงควรปรับสภาพน้ำให้เหมาะสมต่อการผสมพันธุ์ และการวางไข่ปลานีออน โดยเฉพาะคุณสมบัติความเป็นกรดเป็นด่างควรอยู่ในระหว่าง 6.2-6.8 และระดับอุณหภูมิของน้ำเฉลี่ย 23-24 องศาเซลเซียส

เมื่อคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ได้ตามความต้องการแล้ว ก่อนปล่อยควรทำการฆ่าเชื้อโรคที่ติดมากับตัวปลาด้วยการใช้ด่างทับทิมหรือเกลือผสมกับน้ำให้มีความเจือจางแช่ไว้ประมาณ 24 ชม. จาก นั้นก็นำพ่อแม่พันธุ์ลงปล่อยในตู้ปลาที่เพาะเลี้ยงการให้อาหารในช่วงนี้ สำคัญ เพราะอาจทำให้น้ำในตู้เน่าเสียได้ ดังนั้นจึงต้องควบคุมอาหารเป็นพิเศษ ทางที่ดีควรให้อาหารประเภท ลูกน้ำ ไรแดง อาร์ทีเมีย สภาพน้ำในตู้ควรฆ่าเชื้อด้วยเกลือหรือยาปฏิชีวนะ เช่น คอแรมเฟนิคอล ฯลฯ.

neon1

การวางไข่ เมื่อปล่อยพ่อแม่พันธุ์ไว้ในตู้เพาะเลี้ยง 2-3 วัน สังเกตเห็นตัวผู้ว่ายไล่ต้อนตัวเมีย ซึ่งทำให้ตัวเมียหนีเข้าไปอยู่ในพันธุ์ไม้น้ำ เมื่อสภาพสมบูรณ์เต็มที่ตัวเมียวางไข่ในตอนใกล้รุ่งของวันใหม่ ส่วนตัวผู้ฉีดน้ำเชื้อเข้าผสมทันที ไข่ที่ได้รับการผสมแล้วฟักเป็นตัวภายใน 2-3 วัน จากนั้นจึงนำพ่อแม่พันธุ์ออกจากตู้แล้วปิดฝาให้สนิทเพื่อป้องกันแสงสว่าง

การอนุบาลลูกปลา หลังจากที่ลูกปลานีออนเจริญเติบโตสามารถว่ายน้ำได้ ช่วงนี้ไม่จำเป็นต้องให้อาหารเพราะลูกปลาได้รับอาหารจากถุงไข่แดง ต่อจากนั้นให้ลูกไรแดงจนลูกปลาโตพอที่กินอาหารชิ้นใหญ่ ๆ ได้แล้ว คือ มีอายุประมาณ 1 เดือน ผู้เลี้ยงควรเปลี่ยนอาหารจากไรแดงเป็นเนื้อกุ้งสับให้ละเอียด ต่อมาเมื่อลูกปลาอายุได้ประมาณ 1 เดือนครึ่ง ลูกปลาเริ่มปรากฏลวดลายสีสันออกมาให้เห็นชัด และเมื่อลูกปลาอายุได้ประมาณ 2 เดือน สีประจำตัว คือ สีฟ้าเปล่งประกายเข้มเหมือนกับ พ่อแม่พันธุ์ทุกประการ

ระบบนิเวศภายในตู้ การปลูกพันธุ์ไม้น้ำ และใส่วัสดุต่าง ๆ เพื่อเป็นที่หลบซ่อน และเป็นที่อยู่อาศัยของปลา นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความสวยงามให้แก่ตู้ปลาดูเป็นไปแบบตามธรรมชาติจริง ๆ

การเลี้ยงปลานีออนให้มีลักษณะเด่น ผู้เลี้ยงควรปล่อยปลาอยู่รวมกันเป็นฝูง ๆ และบริเวณฝาปิดหรือหลังตู้ควรปิดทับด้วยวัสดุบางอย่างที่ทำให้เกิดความมืด เวลามองดูตัวปลาสีสันจะได้สะท้อนสดใสสะดุดตาแก่ผู้พบเห็น และผู้เลี้ยง

ปอมปาดัวร์

discus1

ปลาปอมปาดัวร์ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ปลาดิสคัส ซึ่งมีชื่อเสียงเรียงนามในทางวิทยาศาสตร์ว่า Symphysodon

ชื่อสามัญก็คือ Discus ปลาปอมปาดัวร์จะมีลักษณะรูปร่าง ทรงกลม ลำตัวแบน ลำตัวมีความกว้างมาก ครีบหลังและครีบท้องเรียงเป็นแถวยาวจนถึงโคนครีบหาง มีลวดหลายและสีสันที่หลากหลาย ต่างกันไปตามสายพันธุ์ ปลาปอมปาดัวร์เป็นที่นิยมของทั้งผู้เลี้ยงและนักเพาะพันธุ์ปลาสวยงาม เพราะเมื่อนิยมเลี้ยง ราคาของปลาก็จะดี

โดยธรรมชาติของปลาปอมปาดัวร์เลี้ยงค่อนข้างยาก ทำให้ผู้เลี้ยงมือใหม่ มักจะเลี้ยงไม่สำเร็จ ดังนั้นก็ที่จะทำการเลี้ยงปลาปอมปาดัวร์ควรศึกษาวิธีเลี้ยงให้ดีก่อน เพื่อที่ปลาจะได้ไม่ตาย โดยสิ่งที่ต้องคำนึงถึงอันดับแรกในการเลี้ยงปลาปอมปาดัวร์ก็คือ สถานที่ที่จะนำปลาปอมปาดัวร์มาเลี้ยง โดยจะประกอบไปด้วย

ตู้ปลา ในเรื่องของขนาดตู้ก็จะขึ้นอยู่กับจำนวนของปลา ยิ่งเลี้ยงปลาปอมปาดัวร์จำนวนมากก็ยิ่งต้องใช้ตู้ใหญ่ และในการตั้งตู้นั้นควรตั้งตู้ที่เลี้ยงปอมปาดัวร์ในสถานที่ที่ไม่พลุกพล่าน เนื่องจากปลาจะเครียดเพระาปลาปอมปาดัวร์ตกใจง่าย

ระบบกรองน้ำ ปลาปอมปาดัวร์ชอบอาศัยในน้ำสะอาด ระบบกรองน้ำจะช่วยในเรื่องของการบำบัดน้และลดความถี่ในการเปลี่ยนน้ำตู้ปลาลง

น้ำ จากที่เคยกล่าวมาแล้วว่าปลาปอมปาดัวร์ชอบน้ำสะอาด ก่อนที่จะนำน้ำมาเลี้ยงควรมีการพักน้ำไว้ก่อนเพื่อให้คลอรีนระเหยออกไป หรืออาจจะใส่หัวทรายลงไปในน้ำและนำน้ำไปแตกแดดเพื่อเร่งให้คลอรีนระเหยเร็วขึ้น ปลาปอมปาดัวร์เป็นปลาที่ต้องดูแลคุณภาพน้ำเป็นพิเศษ ถ้าคุณภาพน้ำไม่ดีปลาจะเครียด ทำให้สีคล้ำ ป่วยและเสียชีวิตได้ ค่าของน้ำที่เหมาะสมคือ pH 6.4-7.5 อุณหภูมิ 25-32 องศาเซลเซียส ถ่ายน้ำ 10-20 % ทุกวันหรือ วันเว้นวัน

อาหาร ให้ในปริมาณที่ปลาอิ่มโดยการสังเกตุดู อาจจะให้วันละ 2 ครั้ง ที่สำคัญคือ อย่าให้อาหารเหลือ เพราะจำทำให้น้ำเสียง่าย อาหารที่ใช้ในการเลี้ยงปลาปอมปาดัวร์ใช้ได้ทั้งอาหารสดและอาหารสำเร็จรูป

เมื่อเตรียมทุกอย่างพร้อมแล้วก็เซตระบบกรองโดย ใส่สิ่งต่างๆลงไปให้หมดจากนั้นนำปลาที่ทนๆมาเลี้ยงเพื่อให้ระบบกรองเซตตัว ซึ่งจะกินเวลาประมาณ 40 วัน แล้วจึ่งไปซื้อปลาปอมปาดัวร์มาเลี้ยง เมื่อซื้อปลามาแล้วก็ถุงที่ใส่ปลามาแช่ไว้ในน้ำประมาณ 30 นาทีแล้วจึ่งแกะถุงให้น้ำในตู้ไหลเข้ามาในถุง ปล่อยให้ปลาว่ายออกไปเอง(หลัง 30 นาที จะเทปลาลงไปเลยก็ได้แต่ค่อยๆให้ปลาออกไปเองดีกว่า)

discus4

การคัดเลือกพ่อ-แม่พันธุ์ การคัดเลือกพ่อ-แม่พันธุ์จัดได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญประการแรกในการเพาะพันธุ์ปลาปอมปาดัวร์  ในการคัดเลือกควรคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้

1. ไม่ควรเลือกซื้อปลาจากร้านปลาสวยงามทั่วๆ ไป  เนื่องจากปลาที่ซื้ออาจจะเป็นปลาที่แก่ไม่สามารถเพาะพันธุ์ได้แล้วหรือมีประสิทธิภาพในการเพาะพันธุ์ต่ำ  ซึ่งโดยมากจะเป็นปลาที่ฟาร์มเพาะพันธุ์ปลาปอมปาดัวร์คัดออกแล้วนำมาขายให้แก่ร้านปลาสวยงามทั่วไป  ควรเลือกซื้อจากฟาร์มเพาะพันธุ์ปอมปาดัวร์ที่ไว้ใจได้และได้มีการคัดเลือกสายพันธุ์แล้ว
2.  ปลาที่เป็นพ่อ-แม่พันธุ์ควรเป็นปลาที่ไม่ได้ผ่านการย้อมสีเพราะฮอร์โมนที่ใช้ในการย้อมจะมีผลกับระบบสืบพันธุ์
3.  ไม่ควรซื้อปลาขนาดใหญ่  เพราะไม่สามารถทราบถึงอายุที่แน่นอนและสุขภาพปลาได้  ควรซื้อปลาที่เรียกว่าขนาดเหรียญบาท  ซึ่งมีอายุประมาณ 1-2 เดือน  มาเลี้ยงเพื่อทราบถึงชีววิทยาปลา  แต่ไม่ควรซื้อปลาจากครอกเดียวกัน  หรือเลือกชนิดเพราะจะทำให้ประสิทธิภาพในการพันธุ์ต่ำ
4.  ลูกปลาที่ซื้อควรมีลักษณะกลมตั้งแต่จงอยปากถึงครีบหลังควรโค้งงอ  ไม่ลาดชันเป็นเส้นตรง  กระโดงครีบหลังสูงและไม่หักลู่  สีของลำตัวเป็นสีน้ำตาลอ่อนไม่ควรจะเป็นสีดำ  พยายามสังเกตดูลักษณะของปลาให้มีสุขภาพสมบูรณ์  ว่ายน้ำได้ว่องไว  ไม่ตกใจกลัวคน

discus2

วิธีเพาะพันธุ์ปลาปอมปาดัวร์ เมื่อพ่อ-แม่ปลาเจริญเติบโตพร้อมที่จะผสมพันธุ์และวางไข่  ให้นำโดมสำหรับปลาวางไข่มาใส่ไว้ในตู้เพื่อเป็นการฝึกไม่ให้ปลาวางไข่ที่อื่น  ซึ่งในการเพาะพันธุ์นี้ควรคำนึงถึงสิ่งสำคัญดังต่อไปนี้

1.  ตู้ปลา  ควรวางตู้ปลาชิดและขนานกับผนังห้องไม่ควรวางตู้ขวางออกมา  เพราะจะทำให้ปลาตกใจหรือตื่นคนง่าย  ตู้ที่นิยมทำการเพาะเลี้ยงจะมีขนาด  30 x 20 x 20  นิ้ว  โดยทาสีฟ้าหรือสีเขียวอ่อน  3  ด้าน
2.  แสงสว่าง  ในขณะทำการเพาะไม่ควรให้แสงสว่างมาก ควรให้แสงสว่างแต่พอควร  และในบริเวณที่เพาะไม่ควรมีคนพลุกพล่านนอกจากผู้ทำการเพาะเลี้ยง  ควรระมัดระวังเกี่ยวกับคนเดินผ่านตู้เพาะ
3.  ห้องเพาะพันธุ์ปลา  ควรจะเป็นห้องที่แยกออกจากห้องเลี้ยงปลา  เพราะแสงสว่างและช่วงเวลาการเปลี่ยนน้ำมักไม่ตรงกันจะทำให้เป็นการรบกวนปลา  การวางโดมควรจะวางคนละมุมกับหัวพ่นฟองอากาศเพื่อป้องกันปลาตกใจและวางโดมให้ชิดผนังตู้ด้านหนึ่ง  เพื่อป้องกันมิให้ปลาติดหลังโดมทำให้ปลาตกใจได้

ในระหว่างการเพาะพันธุ์  ตัวเมียจะเห็นส่วนท้องอูมชัดเจน  ก่อนปลาวางไข่ 3-4 วัน  ปลาจะมีอาการสั่นทั้งตัวผู้และตัวเมีย  ในวันที่ปลาวางไข่จะสามารถสังเกตได้โดยดูอาการทั้งตัวผู้และตัวเมีย  จะไม่ยอมออกห่างจากโดมและช่วยกันแทะเล็มโดมเพื่อทำความสะอาดตลอดเวลา  จากนั้นตัวเมียจะวางไข่บนโดมครั้งละ 15-30 ฟอง  แล้วตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อลงบนไข่  แม่ปลาจะใช้เวลาในการวางไข่ประมาณ 2 ชั่วโมง  วางไข่  100-300  ฟอง  ไข่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 มม.  ไข่จะมีสีเทาอมเหลือง  ในบางครั้งไข่อาจจะมีสีเหลืองอมแดง  เนื่องจากปลาปอมปาดัวร์ในประเทศไทยเลี้ยงด้วยไข่กุ้งทำให้มีผลต่อสีของไข่  หลังจากปลาผสมพันธุ์และวางไข่แล้วจึงใส่ยาปฏิชีวนะได้  Tetracyclin  อัตราส่วน 2 เม็ด  ต่อ 1 ตู้  ในระยะนี้ตัวผู้และตัวเมียจะว่ายวนเวียนโบกพัดน้ำไปยังไข่เพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจนและไม่ให้สิ่งสกปรกตกลงบนไข่ จากนั้นนำตะแกรงตาถี่ขนาดช่องตาครึ่งเซนติเมตรมาครอบลงบนโดม  ให้มีระยะห่างระหว่างโดมและตะแกรงประมาณ  2-3  เซนติเมตร  เพื่อป้องกันปลาย้ายไข่  หรือถ้าปลาตกใจอาจจะกินไข่ได้  พร้อมกับนำตะแกรงขนาดช่องตา 1 นิ้ว  กั้นแยกตัวผู้ออกจากตัวเมีย  ซึ่งถ้าปลาวางไข่อีกจะกินไข่ที่วางไว้ก่อนแล้ว  ทั้งยังป้องกันการกัดกันเพราะแย่งกันเลี้ยงลูก  การแยกกันนี้จะต้องแยกให้ตัวเมียอยู่ใกล้กับไข่  เพราะจะทำให้ทั้งตัวผู้และตัวเมียสามารถมองเห็นไข่ที่วางติดโดมไว้ได้  เพื่อจะได้ไม่กินลูกปลา

discus3

วิธีอนุบาลลูกปลาปอมปาดัวร์

หลังจากแม่ปลาวางไข่ 3 วัน  ลูกปลาจะฟักเป็นตัวแต่จะยังอยู่ในบริเวณเปลือกไข่  จะเห็นส่วนหางเต้นไปมา  ส่วนหัวจะเป็นจุดสีดำในระยะนี้  ลูกปลาจะไม่กินอาหารเพราะมีถุงไข่อยู่บริเวณท้อง  หลังจากนั้นอีก 3 วัน  คือวันที่ 6 หลังจากปลาวางไข่  ลูกปลาจะเริ่มว่ายน้ำมาเกาะเพื่อกินเมือกบริเวณลำตัวพ่อแม่ปลา  สีของลำตัวพ่อแม่ปลาจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเข้มขึ้นจนเกือบดำ  พ่อแม่ปลาจะพยายามอมลูกปลาแล้วพ่นไปที่โดม  ระยะนี้เป็นระยะที่สำคัญมาก  ถ้าพ่อแม่ปลาตกใจจะกินลูกปลาเข้าไปเลย  และควรระมัดระวังการให้อาหารพ่อแม่ปลา  อย่าให้อาหารมากเพราะจะทำให้น้ำเสีย  เนื่องจากจะไม่มีการเปลี่ยนน้ำในระยะนี้  ในวันที่ 7 มีการถ่ายน้ำพร้อมทั้งดูดสิ่งสกปรก ตะกอนออก   ควรระมัดระวังลูกปลาจะติดไปด้วย  เวลาดูดตะกอนให้เหลือน้ำอยู่ประมาณครึ่งตู้เท่านั้น  ในวันที่ 8 ก้อค่อยๆ ดูดตะกอนและเริ่มเติมน้ำ  โดยใช้สายยางเล็กๆ เหมือนกับการให้น้ำเกลือเพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด  โดยถ้าถ่ายน้ำออกตอนเช้าจะต้องเติมน้ำโดยใช้เวลา  8-10 ซม.  จึงจะได้ระดับครึ่งตู้เท่ากับเมื่อวันที่ 7  และเปลี่ยนน้ำเช่นนี้ทุกวัน  ในวันที่  13  ลูกปลาเริ่มว่ายน้ำไปมาอย่างอิสระบ้าง  แต่ยังกินเมือกของพ่อแม่ปลาเป็นอาหารอยู่  สามารถให้อาหารเสริมได้  คือ  อาร์ทีเมียที่เพาะใหม่ๆ  หรือลูกไรแดง  การแยกลูกไรแดงออกจากไรแดงตัวโตสามารถทำได้โดยใช้กระชอนตาถี่ๆ ที่ลูกไรสามารถลอดออกมาได้  ไปช้อนไรแดงแล้วแกว่งในกะละมังที่มีน้ำอยู่  ลูกไรแดงจะหลุดออกมาอยู่ในกะละมัง  แต่ไรแดงตัวโตจะไม่สามารถลอดออกมาได้  จากนั้นจึงใช้กระชอนตาถี่ที่เล็กกว่าขนาดของลูกไรแดงไปช้อนมาอีกที  ก็จะได้แต่เฉพาะลูกไรแดงขึ้นมา  การให้ลูกไรแดงควรระมัดระวังไรชนิดหนึ่ง(ไรหิน)  ซึ่งมีลักษณะคล้ายไรแดงแต่มีเปลือกแข็ง  คล้ายแมลงเปลือกแข็ง  ถ้าลูกปลากินเข้าไปอาจตายได้  ในวันที่ 17 สามารถแยกแม่ปลาออกจากลูกปลาได้ในระยะนี้  และระยะนี้ซึ่งเรียกว่าระยะแกะออกจากแม่หรือขนาดเม็ดแตงโมสามาถนำลูกปลาไปขายได้ในราคาตัวละ 7-8 บาท  หรือจะเลี้ยงต่อไปจนอายุ 1 เดือน  จนถึงขนาดเหรียญบาทซึ่งมีราคาตัวละ 20-30 บาท  ทั้งนี้แล้วแต่ความต้องการของตลาด  ในระยะนี้ควรหัดให้ลูกปลากินไข่กุ้งเพื่อเป็นการเร่งสี  ซึ่งจะทำให้ปลามีสีแดงขึ้นและขายได้ง่ายขึ้น  พ่อแม่ปลาที่แยกออกจากลูกปลาในระยะที่ลูกปลามีอายุ 17 วันนั้นจะผสมพันธุ์วางไข่ได้อีก  โดยใช้เวลาพักตัวประมาณ 1 อาทิตย์ในระยะพักตัวนี้  ควรให้อาหารเสริมจำพวกวิตามิน E, K  หรือวิตามินรวม  เนื่องจากในระยะเลี้ยงลูกปลา  เราต้องในยาปฏิชีวนะตลอดเวลาเพื่อป้องกันโรคทำให้ปลาขาดวิตามิน E, K ซึ่งอาจทำให้ปลาตัวผู้มีโอกาสเป็นหมันและตัวเมียเป็นหมันชั่วคราวได้  โดยใส่วิตามิน E, K หรือวิตามินรวมลงไปในอาหารและแช่ทิ้งไว้ก่อนให้ประมาณ 20 นาที
           ในบางครั้งเมื่อเพาะปลาจะประสบกับปัญหาไข่เสียไม่ฟักเป็นตัว  ซึ่งมีสาเหตุอาจเนื่องมาจากตัวผู้มีน้ำเชื้อไม่ดี  เพราะเพาะพันธุ์ถี่เกินไปหรือเพราะน้ำมีคลอรีน  ผู้เพาะเลี้ยงปลาบางรายจึงมีปลาตัวผู้หลายตัวไว้สับเปลี่ยนกัน  แต่ถ้าสับเปลี่ยนตัวผู้แล้วไข่ยังเสียติดต่อกัน 4-5 ครั้ง  หรือเมื่อวางไข่แล้วไข่หลุดออกจากโดม  ก็ควรพักพ่อแม่ปลาอย่างน้อย  1 เดือน

เสือตอ

 tigerfish4
ปลาเสือตอ เป็นปลาสวยงามที่นักเลี้ยงปลารู้จักกันเป็นอย่างดีในนาม "Siamese Tigerfish" โดยมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า "Coius Microlepis" โดยสามารถพบปลาชนิดนี้ในประเทศทางแถบร้อนเช่น อินโดนีเซีย ไทย พม่า เขมร แต่ในปัจจุบันพบได้น้อยตัวเต็มที ปลาเสือตอเป็นปลาที่มีลำตัวเล็กแบนข้าง มีทรวดทรงป้อมสั้น แนวสันหลังโค้ง ลำตัวมีสีครีมออกเหลืองและชมพู โดยมีแถบดำใหญ่พาดขวางลำตัวประมาณ 6 แถบ เมื่อโตเต็มที่ จะมีความยาวได้ถึงประมาณ 40 ซ.ม. การกินอาหารของปลาเสือตอ มักจะกินเฉพาะอาหารที่มีชีวิตและเคลื่อนไหวได้เท่านั้น ยากที่จะฝึกให้สามารถกินอาหารเม็ดได้ ปลาเสือตอที่ได้รับความนิยมในประเทศไทยมีอยู่ประมาณ 3 สายพันธุ์ เป็นสายพันธุ์น้ำจืด 2 สายพันธุ์และสายพันธุ์น้ำกร่อย 1 สายพันธุ์ เนื่องจากเป็นปลาที่ชอบอาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำที่มีตอไม้ จึงได้มีชื่อเรียกว่า "ปลาเสือตอ"
ปลาเสือตอลายใหญ่
ปลาเสือตอลายใหญ่ ( Coius microlepis) ลายพาดขวางสีดำมีขนาด  ใหญ่ พื้นที่ของเส้นดำกลางลำตัวจะกว้างพอๆกับส่วนของสีพื้นซึ่งเป็นสีอ่อน และยังมี  ความแตกต่างกับปลาเสือตอลายเล็กตรงที่ลายพาดสีดำจะพาดผ่านแผ่นปิดเหงือก  ไปยังโคนครีบหูโดยจะอ้อมรอบลำคอทางด้านล่างของลำตัว นอกจากนี้ความลึกของ  ลำตัวยังมากกว่าอีกด้วย ในปัจจุบันคาดว่าปลาเสือตอลายใหญ่สูญหายไปจากแม่น้ำ  ในประเทศไทยแล้ว ส่วนปลาที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบันส่วนใหญ่มาจากการนำเข้าจาก  ต่างประเทศเกือบทั้งหมด เช่น กัมพูชา และเวียดนาม
tigerfish1
ปลาเสือตอลายเล็ก
ปลาเสือตอลายเล็ก (Coius undecimradiatus) เป็นสายพันธุ์ที่มีลาย ดำพาดขวางแต่ละเส้นมีขนาดเล็ก โดยเล็กกว่าชนิดลายใหญ่ประมาณครึ่งหนึ่งหรือ มากกว่านั้น และลายพาดสีดำดังกล่าวจะพาดผ่านแผ่นปิดเหงือกแล้วไปสิ้นสุดที่โคน ครีบหู แต่ไม่อ้อมรอบลำคอ ปลาเสือตอลายเล็กนี้จะเป็นชนิดที่พบได้โดยทั่วไปใน ประเทศไทย
tigerfish2
อุปนิสัยของปลาเสือตอ สาเหตุที่ได้ชื่อว่า "ปลาเสือตอ" เนื่องจากเป็นปลาที่ชอบอาศัยหลบอยู่ตามตอไม้ ต้นน้ำ หรือก้อนหินใต้น้ำ แต่จะไม่ชอบที่ที่มีพรรณไม้น้ำขึ้นเยอะๆ มักจะชอบแฝงตัวอยู่อย่างเงียบๆคอยซุ่มจับเหยื่อ ตามธรรมชาติปลาเสือตอชอบหากินอยู่ในระดับน้ำ ลึกประมาณ 2-3 เมตร ปลาเสือตอจัดเป็นปลาประเภทกินเนื้อ ดังนั้นเหยื่อของมันจึง เป็นพวกปลาเล็ก และกุ้ง การกินของมันทำโดยการพุ่งเข้าฮุบเหยื่ออย่างว่องไว ชอบ หากินในเวลากลางคืน ขณะที่กินอาหารนั้นตัวปลาจะมีสีสดใส และมักจะกางหนาม ของครีบหลังตั้งขึ้น ปลาเสือตอจะมีประสาทตาที่ไว คอยระมัดระวังตัวเองอยู่เสมอ มี นิสัยรักความสงบ เลี้ยงเชื่อง ไม่ก้าวร้าวถ้าไม่ถูกรังแก ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง สามารถเลี้ยงรวมกันได้หลายๆตัว หรืออาจเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นๆที่มีขนาดใกล้ เคียงกันก็ได้ แต่ปกติแล้วปลาชนิดนี้จะมีนิสัยไม่ชอบอยู่รวมกับปลาชนิดอื่น
เทคนิคและวิธีการเลี้ยงปลาเสือตอ ปลาเสือตอถือว่าได้รับความนิยมติดอันดับต้นๆของปลาสวยงามที่นักเลี้ยงปลาให้ความสนใจ เนื่องจากมีความสวยงามน่ารักโดดเด่น เลี้ยงง่าย ผู้เลี้ยงปลาสวยงามมัก นิยมเลี้ยงปลาเสือตอรวมกับปลาอะโรวาน่า โดยเชื่อกันว่าปลาอะโรวาน่าจะเปรียบ  เสมือนมังกรที่แหวกว่ายอยู่บนท้องฟ้า และปลาเสือตอเปรียบเสมือนเสือที่คอยคุ้ม ครองโลกมนุษย์ การเลี้ยงส่วนใหญ่จะเป็นในรูปแบบการเลี้ยงในตู้กระจก ขนาดของตู้ กระจก ถ้าเลี้ยงเฉพาะปลาเสือตอไม่จำเป็นต้องมีขนาดใหญ่มากนัก เพราะปลาเสือตอ เป็นปลาที่ชอบหลบอยู่ตามซอกหินหรือกองไม้ ไม่ชอบออกมาว่ายน้ำตลอดเวลา แต่ก็ ต้องดูความเหมาะสมระหว่างจำนวนปลาและขนาดของตู้ ไม่ควรให้แคบจนเกินไป ควรจัดตู้ให้มีที่หลบซ่อน เช่น จัดให้ถ้ำ หรือกองไม้ใต้น้ำ และควรปลูกไม้น้ำให้มีความ หนาแน่นพอสมควร น้ำที่ใช้เลี้ยงควรเป็นน้ำเก่า มีความเป็นกรดอ่อนๆ หรือ pH ไม่ควรเกิน 7 อุณหภูมิน้ำอยู่ในช่วง 22-30 C จัดระบบกรองน้ำให้ดี ส่วนการให้อาหาร เนื่องจากปลาเสือตอมีนิสัยชอบกินเนื้อสัตว์เป็นอาหาร ดังนั้นปลาขนาดเล็ก ควรให้ลูกน้ำหรืออาร์ทีเมีย แต่ถ้าเป็นปลาขนาดกลางหรือขนาดใหญ่ให้กุ้งฝอยหรือลูกปลาที่ เพาะได้ใหม่ๆ ปลาที่เลี้ยงจนคุ้นเคยแล้วเราสามารถฝึกให้กินอาหารพวก เนื้อกุ้ง เนื้อ ปลา หรือเนื้อสัตว์อื่นๆได้โดยต้องทำการฝึกแบบค่อยเป็นค่อยไป 
tigerfish3
การเพาะเลี้ยงและอนุบาลปลาเสือตอ การเพาะเลี้ยงปลาเสือตอในขั้นตอนแรกนั้นจะต้องทำการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ปลา ซึ่งก่อนอื่นต้องทำการแยกเพศปลาให้ได้เสียก่อน การสังเกตดูเพศโดยดูลักษณะรูป  ร่างภายนอกนั้น ถ้าเป็นเพศผู้จะมีลักษณะลำตัวเรียวยาวและเล็กกว่า ขนาดตัวโตเต็ม วัยจะมีน้ำหนักประมาณ 300-400 กรัม ซึ่งสามารถนำมาเป็นพ่อพันธุ์ได้ ส่วนเพศ เมียลำตัวจะมีลักษณะป้อมหรือกลม วัยเจริญพันธุ์จะมีน้ำหนักประมาณ 800 กรัม ปลาเพศเมียเมื่อพร้อมที่จะผสมพันธุ์ จะสังเกตเห็นท่อนำไข่ยื่นออกมาอย่างชัดเจน  การปล่อยพ่อแม่พันธุ์ให้ผสมพันธุ์กัน อาจจะปล่อยในอัตราส่วนปลาเพศผู้มากกว่า ปลาเพศเมีย หรือในอัตราส่วน 1: 1 ก็ได้ การเพาะเลี้ยงอาจทำในบ่อซีเมนต์ ปลาเสือ ตอส่วนใหญ่จะผสมพันธุ์ในเวลากลางคืน เมื่อปลาเสือตอผสมพันธุ์และวางไข่แล้ว จะเห็นไข่ของปลาเสือตอ ซึ่งมีลักษณะเป็นไข่ประเภทลอยน้ำ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 0.8 มม. ไข่ที่ได้รับการผสมจะมีสีค่อนข้างใสอมเหลืองเล็กน้อย มีหยด น้ำมันอยู่ภายในและมีลักษณะเป็นประกายสะท้อนแสง ไข่จะลอยอยู่ในระดับผิวน้ำถึงกลางน้ำ ส่วนไข่ที่ไม่ได้รับการผสม จะมีลักษณะค่อนข้างขาวขุ่นทึบแสง และลอยอยู่ ระดับผิวน้ำ ควรแยกไข่ที่ไม่ได้รับการผสมออก ไข่ที่ได้รับการผสมจะฟักออกเป็นตัว ภายในระยะเวลา 15-17 ชั่วโมง ในอุณหภูมิน้ำประมาณ 28-29 C ลักษณะของลูกปลาที่ฟักออกใหม่ๆจะใสและเรียวยาว ถุงอาหารจะยุบหมดภายในระยะเวลา 2-3 วัน อาหารของลูกปลาในระยะนี้ได้แก่ พวกอาหารมีชีวิต เช่น โรติเฟอร์ ไรแดง หรือพวกไข่แดงต้มสุกบดละเอียด เมื่อลูกปลาอายุประมาณ 3 อาทิตย์หรือเลี้ยงอนุบาลจน ลูกปลามีขนาดประมาณ 3 cm เปลี่ยนอาหารให้เป็นพวกลูกปลาที่เพาะได้ใหม่ๆ เช่น  ลูกปลาตะเพียน ส่วนพ่อแม่พันธุ์นั้นหลังจากที่ผสมพันธุ์และวางไข่แล้ว ควรเอาไปพักฟื้น แยกเอาไปไว้ในบ่ออื่น เพราะปลายังอ่อนเพลียอยู่ เมื่อเลี้ยงปลาเสือตอจนได้ ขนาดตามต้องการแล้ว สามารถนำไปจำหน่าย แยกเลี้ยงเพื่อความสวยงามหรือจะนำ ไปเลี้ยงเพื่อเพาะขยายพันธุ์ได้ตามต้องการ

โรคที่พบในปลาเสือตอและการรักษา ปลาเสือตอที่เป็นโรคจะแสดงความไม่สบายและเจ็บป่วยออกมาทางสีของลำตัว คือปลาจะมีสีคล้ำขึ้น โรคที่พบในปลาเสือตอส่วนใหญ่เกิดจากปรสิตที่มีอยู่แล้วในปลา เสือตอที่มาจากธรรมชาติ ได้แก่ โรคฝีตามลำตัว ซึ่งจะมีลักษณะเป็นตุ่มบวมใหญ่ ออกจากผิวหนังตามลำตัว การรักษาควรแยกปลาที่ป่วยออกจากตู้มาเลี้ยงในตู้อื่น  แล้วให้อากาศอย่างเพียงพอ ระบบกรองน้ำต้องดี ให้อดอาหารประมาณ 2-3 วัน แล้วใช้ยาปฏิชีวนะผสมกับอาหารให้กินวันละครั้งประมาณ 3 ครั้ง ส่วนอีกโรคที่พบบ่อยก็คือ โรคจุดขาว ซึ่งเกิดจากเชื้ออิ๊ค การรักษาทำได้โดยใช้ยารักษาโรคอิ๊ค ซึ่งมีขายอยู่ทั่วไปในท้องตลาดและควรปฏิบัติตามวิธีใช้อย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ยังมีโรคครีบเปื่อย หางเปื่อย และตาฝ้าขาว ซึ่งทั้งหมดเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย อาการของโรคคือ ครีบหางเปื่อยหลุดหายไป บางทีจะเห็นเป็นเชื้อราขึ้นเป็นสีขาว การรักษาทำโดย ใช้ยาเหลือง (Acriflavine) 1 ช้อนชาละลายในน้ำ 1 ลิตร สามารถเก็บในขวดสีชาเป็นstock ใช้ได้หลายครั้ง โดยตักมา 1 ช้อนโต๊ะผสมกับน้ำ 5 ลิตร แช่ปลาไว้ ทุกวันจนปลาหาย และจะต้องเปลี่ยนน้ำทุกวัน